สาระน่ารู้เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร หน้าที่ของลูกผู้ชายไทย

 

๖๑ ถาม ผู้ที่ประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร (ย้ายหลักฐานทางทหารไปอยู่แห่งใหม่ เนื่องจากไปทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นประจำหรือไปมีถิ่นที่อยู่เป็นหลักฐาน) ต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ห้แจ้งต่อนายอำเภอที่ตนเข้ามาอยู่ (แจ้งอำเภอท้องที่ใหม่เพียงแห่งเดียว) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านนั้น
     
๖๒ ถาม กรณีผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ให้นำหลักฐานไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
     
๖๓ ถาม หากไม่แจ้งย้ายที่อยู่หรือไม่แจ้งเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุลภายในกำหนดจะมีความผิดหรือไม่
  ตอบ ผู้ที่เป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่วนผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอแล้วแต่ยังไม่เป็นทหารกองเกินมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     
๖๔ ถาม ถ้าทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนตายจะต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ห้ผู้ปกครองหรือญาติ นำหลักฐานการตายแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ โดยนำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ส่งคืนด้วย
     
๖๕ ถาม คนหลีกเลี่ยงขัดขืนซึ่งต้องส่งเข้ากองประจำการ จะขอสิทธิลดวันรับราชการตามคุณวุฒิได้หรือไม่
  ตอบ ขอสิทธิลดวันรับราชการได้ตามคุณวุฒิ แต่จะใช้สิทธิร้องขอเข้ารับราชการไม่ได้
     
๖๖ ถาม บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารฯ ต้องพ้นจากฐานะยกเว้น ต้องปฏิบัติอย่างไร
  ตอบ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอรับหมายเรียกฯ ที่อำเภอท้องที่ที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ค. นั้น
     
๖๗ ถาม มีข้อสังเกตอย่างไรที่เรียกว่า "ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม"
  ตอบ หากท่านไม่ได้รับใบรับรองผลฯ จากประธานกรรมการตรวจเลือกฯ ในวันตรวจเลือกฯ หรือได้รับจากบุคคลอื่นหรือวันอื่น หรือได้รับโดยมิได้เข้ารับการตรวจเลือกฯ แสดงว่า เป็น "ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม"
     
๖๘ ถาม กรณีมีบุคคลอ้างว่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือให้พ้นจากการตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ได้นั้น ช่วยได้จริงหรือไม่
  ตอบ อย่าหลงเชื่อการแอบอ้าง หรือหลอกลวงของเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดที่อ้างว่าจะช่วยเหลือให้ท่านพ้นจากการเกณฑ์ทหารได้ นอกจากท่านจะได้รับใบรับรองผลฯ ปลอมแล้ว ยังจะต้องถูกดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายอีกด้วย
     
๖๙ ถาม กรณีที่ทหารกองเกินมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหารจะขอตรวจโรคก่อนเกณฑ์ได้หรือไม่อย่างไร
  ตอบ ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจโรคก่อนเกณฑ์คือ ทหารกองเกินผู้ที่รู้ว่าตนเองมีโรคที่น่าจะขัดต่อ การรับราชการทหาร สามารถไปเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก ๑๙ แห่ง ตามที่ได้ประกาศไว้ เช่น ส่วนกลางได้แก่ รพ.พระมงกุฎเกล้า
     
๗๐ ถาม โรคที่ควรเข้ารับการตรวจมีอะไรบ้าง
  ตอบ ได้แต่โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหารซึ่งไม่สามารถจะตรวจด้วยตาเปล่า หรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางจิตเวช ฯลฯ
     
๗๑ ถาม เอกสารที่ต้องนำไปให้คณะกรรรมการแพทย์ตรวจโรคก่อนการตรวจเลือก มีอะไรบ้าง
  ตอบ เอกสารที่นำไป ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, ใบสำคัญ (แบบ สด.๙), และหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) ฉบับจริงและสำเนาที่ลงนามรับรองแล้ว
     
๗๒ ถาม ถ้าผู้ที่เข้าตรวจเลือกฯ ถูกเข้ากองประจำการเห็นว่า คณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรม จะยื่นคำร้องได้ที่ใด
  ตอบ ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง (ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก ๒ นาย) ได้ทันที แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็นทหารก่อน จนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูง
     
๗๓ ถาม เมื่อเป็นทหารกองประจำการแล้ว ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้หรือไม่อย่างไร
  ตอบ ถ้าเข้ากองประจำการแล้ว ก็ยังยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้โดยตรงทีเดียวไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
     
๗๔ ถาม นักเรียนทหาร จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่อย่างไร
  ตอบ นักเรียนทหารเมื่อมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
     
๗๕ ถาม นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต้องดำเนินการอย่างไร
  ตอบ นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต้องไปขึ้นทะเบียนกองประจำการ
     
๗๖ ถาม บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่อย่างไร
  ตอบ คคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารกองเกินแต่ไม่เรียกมาตรวจเลือกเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ในยามปกติ
     
๗๗ ถาม การเกณฑ์ทหารใน เมษายน ๒๕๕๐ เกณฑ์คนอายุเท่าไร และเกิดปีใด
  ตอบ ผู้ที่อยู่ในกำหนดต้องเข้าตรวจเลือกฯ ในเดือนเมษายน ๒๕๕๐ คือ
๑. คนอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ.๒๕๒๙)
๒. คนอายุ ๒๒ ปี ถึง ๒๙ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ.๒๕๒๘ ถึง ๒๕๒๑) ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกฯ และ/หรือผลการตรวจเลือกยังไม่เสร็จสิ้นไม่ว่ากรณีใดๆ
๓. นิสิต นักศึกษา นักเรียน ที่อยู่ในระหว่างจะได้รับการผ่อนผัน
     
๗๘ ถาม ถ้าผู้ทีกำลังศึกษาอยู่จะขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร (การเกณฑ์ทหาร) ได้หรือไม่
  ตอบ ได้โดยต้องยื่นคำร้องแจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารต่อสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่
     
๗๙ ถาม คนพิการ หรือทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่อย่างไร
  ตอบ คนพิการ หรือทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้จะต้องลงบัญชีทหารกองเกิน และจะต้องไปรับหมายเรียกด้วย แต่ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
     
๘๐ ถาม การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารมีกำหนดระยะเวลาการยื่นขอผ่อนผันหรือไม่
  ตอบ มีกำหนดระยะเวลาคือ การขอผ่อนผันจะต้องส่งรายชื่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหารภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะเข้าตรวจเลือกทหารฯ
     
  หน้าสาม